Last Updated on มกราคม 8, 2025 by admin
มะเขือเปราะเป็นผักพื้นบ้านที่คุ้นเคยในครัวไทยมาอย่างช้านาน ด้วยรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ เนื้อสัมผัสกรอบ และคุณค่าทางโภชนาการที่หลากหลาย
มะเขือเปราะจึงกลายเป็น ผักสวนครัวอีก 1 ชนิดที่ อยู่ในเมนูอาหารไทย หลายเมนู จัดเป็น อีก 1 ผักสวนครัวที่น่าลงทุนปลูกจะปลูกไว้กินเองก็ดี หรือจะปลูกไว้จำหน่าย ก็ขายได้ตลอด เพราะมีความต้องการซื้อไปประกอบอาหารอยู่ตลอด
ลักษณะและสายพันธุ์ของมะเขือเปราะ
มะเขือเปราะ มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย จัดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีอายุได้หลายฤดูกาล ลำต้นสูงประมาณ 2-4 ฟุต ใบมีขนาดใหญ่ เรียงสลับ ดอกมีสีม่วงหรือสีขาว ผลมีรูปร่างกลมแป้น ผิวเรียบเป็นมัน มีลายริ้วสีขาว ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หรืออาจมีสีม่วงหรือขาวขึ้นอยู่กับสายพันธุ์
สายพันธุ์ของมะเขือเปราะที่พบในประเทศไทย:
- พันธุ์เจ้าพระยา: เป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกมากที่สุด ผลมีขนาดกลาง รูปทรงกลมแป้น สีเขียวอ่อน เมื่อแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เนื้อแน่น กรอบ
- พันธุ์อื่นๆ: นอกจากพันธุ์เจ้าพระยา ยังมีพันธุ์อื่นๆ เช่น พันธุ์ขาว พันธุ์ม่วง ซึ่งมีความแตกต่างกันในเรื่องสีของผลและขนาด
สิ่งที่ต้องเตรียมในการปลูกมะเขือเปราะ
1 ดินปลูก จะปรุงเองก็ได้ หรือถ้าใคร ไม่สะดวก หรือไม่มีเวลา ก็สามารถซื้อดินปลูกสำเร็จรูป จากร้านขายอุปกรณ์
ปลูกต้นไม้ได้เลย ขอให้เลือกสูตรที่มีความรุ่นซุย ไม่เหนียว ซึ่งจะช่วยให้เมล็ดพันธุ์ เจริญเติบโตได้ดี
2 ภาชนะสำหรับ เพาะเมล็ด อาจจะเป็น ถาดเพาะ ที่เป็นหลุมๆ หรือ ถุงเพาะ ก็ได้ แล้วแต่สะดวก
3 กาบมะพร้าวสับ สำหรับนำมาใช้ ลองก้น เพื่อเพิ่มการระบายน้ำ
4 เมล็ดพันธุ์ มะเขือเปราะ ขอให้เลือก ใช้ จากแหล่งที่น่าเชื่อถือ ไม่เก่าเก็บ
สะอาดปราศจาก การปนเปื้อน ของ เชื้อโรค เชื้อรา
ขั้นตอนการปลูก
1 นำกาบมะพร้าวสับที่เตรียมไว้ มารองบริเวณด้านล่าง ถ้าใช้ ถาดเพาะ ก็นำมาหยอดลงไปในแต่ละหลุม
2 นำดินปลูก ที่เตรียมไว้ ใส่ลงไปด้านบน พอประมาณ
3 นำเมล็ดพันธุ์ที่เตรียมไว้มาหยอด ไว้ใน ดินปลูก ที่เตรียมไว้ พยายาม อย่าหยอด ให้เมล็ด 2 เมล็ดอยู่ใน
จุดที่ชิดกันจนเกินไป
4 โรยดินปลูก กลบบางๆ ด้านบนเมล็ด แล้วรดน้ำตาม
5 แปลงเพาะเมล็ด ควรเป็นที่ที่มีแสงแดดรำไร
6 รอระยะเวลา ให้ เมล็ดงอกออกมาเป็น ต้นกล้า ขั้นตอนนี้มักใช้เวลาไปถึง 1 สัปดาห์ โดยเมล็ดจะเริ่มงอกราก
ออกมาก่อน จากนั้นจะค่อยๆ แตกใบออกมา 1-2 ใบ
7 อย่าลืม หมั่นรดน้ำ เป็นประจำ เพื่อให้ความชุ่มชื้นกับต้นกล้า ระหว่างนี้ยังไม่ต้องเติมสารอาหาร หรือ ปุ๋ยใดๆก็ได้
8 หลังจาก ต้นกล้ามีใบประมาณ 4-5 ใบ ท่านสามารถ เติมสารอาหารได้
9 ต้นมะเขือเปราะต้นไหน ที่โตแล้ว และแข็งแรงพอ ก็สามารถ นำการย้าย จาก ถาดหรือถุงเพาะ ไปลงแปลกปลูก
หรือ กระถางที่มีขนาดใหญ่ได้เลย ระหว่างที่ย้าย โปรดระวัง การทำให้รากมะเขือเปราะเสียหาย
จากนั้นรอเวลาให้ ต้นมะเขือเปราะตั้งต้นได้
10 หลังจาก ต้นมะเขือเปราะตั้งต้นได้อย่างแข็งแรง ไม่มีอาการ เหี่ยว ซึม ท่านสามารถ เพิ่มการรับแสง
ของต้นมะเขือได้ทันที
11 อย่าลืม เพิ่มสารอาหาร ด้วยการเติมปุ๋ย เร่งการเจริญเติบโต อาจจะใช้เป็น ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยมูลสัตว์อย่าง
มูลไส้เดือน มูลไก่ เป็นต้น ** เรื่องการเพิ่มสารอาหาร เร่งผลผลิต
แต่ละที่อาจจะมีสูตรไม่เหมือนกัน บางที่แนะนำให้ใช้ จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง บางที่ก็แนะนำให้ฉีดพ่น ด้วยฮอร์โมนต่างๆ ** เนื่องจากเกษตรอินทรีย์ ไม่มีอะไรแน่นอน แต่ส่วนตัวผู้เขียนเห็นว่า เพียง ปุ๋ยหมัก หรือ มูลสัตว์ก็เพียงพอ
12 ควรหมั่นคอยระวัง ศัตรูพืช อย่าง หนอนชอนใบ ที่อาจจะเข้ามาทำลายผลผลิต แนะนำให้ใช้ น้ำส้มควันไม้
หรือน้ำหมักสมุนไพร สูตรต่างๆ ฉีดพ่น เป็นประจำเพื่อป้องกัน
13 เมื่อเวลาผ่านไป ต้นมะเขือเปราะก็จะมีการแทง ช่อดอกออกมา ดอกมะเขือเปราะ มีทั้ง เกสรตัวเมีย และเกสรตัวผู้
อยู่ในดอกเดียวกัน โดย มีแมลง หรือ ลม เป็นตัวช่วยในการผสมพันธุ์ตามธรรมชาติ
14 ลูก มะเขือเปราะ จะมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ตามเวลาที่ผ่านไป
15 และในที่สุด ช่วงเวลา ที่ท่านจะได้ เก็บเกี่ยวผลผลิตก็มาถึง หากท่านต้องการ ที่จะมีผลผลิตมะเขือเปราะไว้เก็บกิน
หรือ จำหน่าย ยาวๆ ก็อาจจะพิจารณา ใช้กระถางที่มีขนาดใหญ่ เพื่อให้ ต้นมะเขือเปราะ สามารถเจริญเติบโตได้
คุณค่าทางโภชนาการของมะเขือเปราะ
ใยอาหาร: ช่วยในระบบขับถ่าย ป้องกันอาการท้องผูก และช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
วิตามินซี: ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน บำรุงผิวพรรณ และต้านอนุมูลอิสระ
โพแทสเซียม: ช่วยควบคุมความดันโลหิตและสมดุลของเหลวในร่างกาย
สารต้านอนุมูลอิสระ: เช่น ฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) ซึ่งมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของโรคเรื้อรัง
สารโซลานีน (Solanine): เป็นสารอัลคาลอยด์ที่พบได้ในมะเขือเปราะและพืชตระกูลเดียวกัน ในปริมาณที่เหมาะสมไม่เป็นอันตราย แต่หากบริโภคในปริมาณมากอาจทำให้เกิดอาการไม่สบายท้องได้
ประโยชน์ต่อสุขภาพของมะเขือเปราะ
ช่วยระบบขับถ่าย: ใยอาหารในมะเขือเปราะช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ ลดอาการท้องผูก
เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน: วิตามินซีช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ป้องกันหวัดและโรคต่างๆ
ควบคุมความดันโลหิต: โพแทสเซียมช่วยควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ
ต้านอนุมูลอิสระ: สารต้านอนุมูลอิสระช่วยลดความเสี่ยงของโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจและมะเร็ง
ช่วยลดไข้และแก้อาการร้อนใน: ในตำรายาไทย มะเขือเปราะมีฤทธิ์เย็น ช่วยลดไข้และแก้อาการร้อนในได้
นำเทคนิค และขั้นตอนการปลูก นี้ไปใช้ รับรอง ได้ ต้นมะเขือเปราะ ที่แข็งแรงสมบูรณ์
ลูกดกแน่นอน
อยากปลูกมะเขือเปราะให้ ได้ผลผลิตที่แข็งแรง ปลูกง่ายโตไว ต้องเริ่มต้น ที่เลือกใช้
เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ สั่งซื้อ เมล็ดพันธุ์ มะเขือเปราะได้ที่นี่เลย
หากไม่สะดวกสั่งซื้อสินค้า ผ่านระบบในเว็บไซต์ กรุณาโทร 095-5419953 หรือ แอดไลน์ @luckyworm
แอดมินของเรายินดีให้บริการค่ะ