มกราคม 15, 2025

Blog

การปลูกพืชไร้ดิน คืออะไร? มีข้อดี ข้อเสียอย่างไร

คลังบทความ
ฝากกดแชร์เป็นกำลังใจให้ด้วยนะคะ

Last Updated on มกราคม 2, 2025 by admin

ในปัจจุบัน มีการคิดค้น การปลูกพืชผักผลไม้ ที่แตกต่างออกไป จากการเพาะปลูกแบบดั้งเดิม นั่นก็คือ

การปลูกพืชไร้ดิน ( Soilless Culture ) ซึ่งเป็น ระบบการปลูกพืช ในสารละลาย หรือในวัศดุปลูกที่ไม่ใช้ดิน แต่มีการให้สารละลายธาตุอาหารแก่พืชโดยตรง
ในการปลูกพืช แบบดั้งเดิมนั้น ดิน จะทำหน้าที่หลักๆ 2 ประการคือ เป็นแหล่งกักเก็บน้ำ,สารอาหารให้กับพืช และทำหน้าที่เป็นที่ยึดเกาะของรากพืช ในการปลูกพืชไร้ดินนั้น ก็จะมี การนำวัศดุอื่น มาทำหน้าที่ 2ประการนี้แทน ดิน นั่นเอง

ประเภท ของการปลูกพืชไร้ดิน

1 Liquid-medium systems หรือ ระบบที่ใช้ของเหลวเป็นวัศดุปลูก

ซึ่ง ยัง แบ่งแยกย่อย ได้อีก เป็น
1.1 NFT ( Nutrient Film Technique ) พืชจะเติบโตโดยสารอาหาร ที่ไหลผ่านรากพืชในภาชนะปลูก ซึ่งมีลักษณะเป็นท่อ สารอาหารจะไหลผ่าน อย่างต่อเนื่องในท่อ ด้วยระบบหมุนเวียนของน้ำ ระบบจะสูบน้ำจากแหล่งเก็บน้ำและวนน้ำกลับขึ้นมาเพื่อเติมสารอาหารให้กับพืช รากของพืชจะเติบโตขึ้นในแผ่นปลูกที่วางอยู่ในภาชนะปลูก ภาชนะหรือท่อ จะต้องทำจากวัศดุที่สามารถป้องกันการรั่วไหลของน้ำ เช่น pvc และ ท่อ จะต้องจัดวางแบบลาดเอียง เพื่อให้น้ำหรือสารอาหาร สามารถไหลจากบนลงล่าง
ตามท่อ จะมี ช่องเปิดว่าง เพื่อให้ใบของพืชผักเติบโตได้

1.2 Deep Water Hydroponics system คนไทยเรียก ปลูกแบบ น้ำนิ่ง ซึ่ง ไม่ต้องใช้ไฟฟ้า ไม่ต้องใช้เงินลงทุนเยอะ
โดยจะใช้ วัศดุลอยน้ำ เช่นโฟม เป็นตัวยึดราก และ ให้รากของพืชแช่อยู่ในสารละลาย ซึ่งเป็นแหล่งอาหาร

1.3 Dynamic Root Floating System คือระบบการ ปลูกพืช แบบให้สารละลายธาตุอาหารพืช และอากาศ ไหลวนผ่านรากพืชโดยตรง
หลักการ: รากพืชจุ่มอยู่ในสารละลายธาตุอาหารโดยตรง

ข้อดี ของ Liquid-medium systems
1 ประหยัดน้ำ ถึง จะเป็นระบบ ที่ใช้น้ำหรือของเหลวเป็นหลัก แต่การใช้น้ำจริงๆ น้อยกว่า การปลูกพืชแบบดั้งเดิมมาก
2 ปัญหา ศัตรูพืช น้อยกว่า ยิ่งถ้า ทำระบบ ใน ตัวอาคาร ปัญหา ศัตรู พืช รบกวนก็จะยิ่งน้อย และนี่หมายถึง การที่ไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลงในระบบนี้
3 ไม่ต้องกังวล กับสภาพอากาศ เพราะ ผู้ปลูก สามารถ ควบคุมได้ ทั้งปริมาณสารอาหาร น้ำ ที่พืชได้รับ ตลอดเวลา ตลอดทั้งปี
4 ปลูกที่ไหนก็ได้ ใช้เนื้อที่น้อย

ข้อด้อย ของ Liquid-medium systems
1 บางระบบ อย่าง NFT ใช้เงินลงทุน ค่อนข้างสูง
2. ระบบที่ ต้องใช้ มอเตอร์สูบน้ำ ก็ต้องมีการสิ้นเปลืองค่าไฟฟ้า
3 จำเป็นต้องมีการดูแล ตรวจตรา และบำรุงรักษา ระบบ อยู่เสมอ
4 มีความเสี่ยง ต่อเชื้อโรค ที่มากับน้ำ เนื่องจาก เป็นระบบที่อาศัยน้ำเป็นหลัก เชื้อโรคที่มากับน้ำก็แพร่ไปทั้งระบบโดยน้ำได้เช่นกัน

2 Aeroponics หรือการปลูกพืชแบบรากลอย

ปัจจุบัน การปลูกพืชในระบบ aeroponics ในเชิงพาณิชย์นั้น รากพืชจะลอยอยู่ในอากาศ และจะมีหัวพ่นน้ำ คอยพ่นน้ำและสารอาหาร ไปสู่รากพืช การปลูกพืชแบบ aeroponics นั้น มีมานาน เกือบ 100 ปีแล้ว โดยเริ่มจากการที่นักวิชาการ ต้องการที่จะ ศึกษา การเจริญเติบโต ของรากพืช ที่มีความซับซ้อน แต่ เนื่องจาก การปลูกพืชแบบดั้งเดิมนั้น รากจะอยู่ในดิน ทำให้ ยากต่อการศึกษาค้นคว้า
จึงมีการ พัฒา ระบบ ที่นักวิจัย จะสามารถ สังเกตการณ์การเจริญเติบโต ของรากพืชได้ นั่นก็คือ ระบบ aeroponics และ hydroponics นั่นเอง ในเวลานั้น เทคโนโลยีนี้ ยังไม่เป็นที่แพร่หลาย แต่ในช่วงปี 1990 ซึ่ง ประเทศมหาอำนาจ มีการแข่งขัน ด้านเทคโนโลยี อวกาศกันอย่างเข้มข้น จึง มีความพยายาม ที่จะหาวิธีที่มนุษย์ จะสามารถ ดำรงชีวิตอยู่ในห้วงอวกาศ เป็นระยะ เวลายาวนาน
แน่นอน ว่า จำเป็นต้องมีอาหาร ดังนั้น ถ้า เหล่า นักบินอวกาศ สามารถ ปลูกผักกินเอง บนสถานีอวกาศได้ ก็คงจะตอบโจทก์ในเรื่องนี้ไม่น้อย และทำให้ องค์การ นาซ่า คิดถึง วิธีปลูกพืช แบบ aeroponic นั่นเอง

หลักการ: รากพืชลอยอยู่ในอากาศ และมีการพ่นหมอกของสารละลายธาตุอาหารมาเลี้ยงราก

ข้อดีของ ระบบ aeroponics

1 ประหยัดน้ำ ยิ่งกว่า ระบบ ไฮโดรโปนิคส์ ซะอีก จากการศึกษาพบว่า ระบบ aeroponics ใช้น้ำน้อยกว่าการปลูกพืชแบบดั้งเดิมถึง 20เท่า
2 รากได้รับออกซิเจนอย่างเต็มที่ ทำให้พืชเจริญเติบโตได้ดี
3. ข้อดีอื่นๆ เหมือน ไฮโดรโปนิคส์ เช่น ศัตรูพืชรบกวนน้อย , ปลูกในอาคารได้ , ปลูกได้ตลอดปี

ข้อเสียของระบบ aeroponics

1. ใช้เงินลงทุนสูง ในการ ติดตั้งระบบ
2. ต้องมีความรู้ความเข้าใจ ในระบบ และเทคโนโลยีนี้ในระดับนึง
3. เช่นเดียวกับไฮโดรโปนิคส์ ที่ต้อง ตรวจตรา ดูแล รักษาระบบอยู่เสมอ

3 Substrate Culture หรือ การปลูกพืชในวัศดุทดแทนดิน

โดยวัศดุแข็ง ที่นำมาใช้เพื่อพยุงรากแทนดิน ซึ่งเป็นที่นิยม ก็อย่างเช่น แกลบดิบ , ขุยมะพร้าว , หินภูเขาไฟ , ทรายหยาบ , ใยหิน , เม็ดดินเผา ,เพอร์ไลท์ ,เวอร์มิคูไลท์ ,พีทมอส เป็นต้น โดย การปลูกระบบนี้ ก็จะมีการ เพิ่มสารอาหารเข้าไปให้พืชต่างหาก
หลักการ: ใช้วัสดุปลูกที่ไม่ใช่ดิน เช่น ขุยมะพร้าว เพอร์ไลต์ เวอร์มิคูไลต์ เป็นต้น เพื่อยึดรากพืช และรดด้วยสารละลายธาตุอาหาร
ข้อดี: ง่ายต่อการจัดการ เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้น
ข้อเสีย: วัสดุปลูกอาจเสื่อมสภาพได้

การปลูกพืชไร้ดินระบบไหน ที่เหมาะกับท่าน?

ปัจจัยที่ควรพิจารณาในการเลือกระบบได้แก่
ชนิดของพืช: พืชแต่ละชนิดมีความต้องการที่แตกต่างกัน
พื้นที่: ขนาดพื้นที่ที่มีจะกำหนดขนาดของระบบ
งบประมาณ: ต้นทุนในการติดตั้งและบำรุงรักษาแต่ละระบบแตกต่างกัน
ความรู้และประสบการณ์: ระบบที่ซับซ้อนอาจต้องใช้ความรู้และประสบการณ์ในการดูแล

อ่านบทความดีๆ ได้ความรู้กันแล้ว อย่าลืมแอดมาเป็นเพื่อนกันด้วยนะคะ
เพื่อให้ท่านไม่พลาด ข่าวสารและโปรโมชั่นดีๆจากทางร้าน

เพิ่มเพื่อน

error: Content is protected !!