มกราคม 15, 2025

Blog

ไตรโคเดอร์มา ใช้กำจัดเชื้อรา เชื้อราไฟทอปธอร่า ในทุเรียนได้จริง

คลังบทความ
ฝากกดแชร์เป็นกำลังใจให้ด้วยนะคะ

Last Updated on สิงหาคม 17, 2022 by admin

การปลูก ทุเรียน เป็นการลงทุนระยะยาว สำหรับเกษตรกร เพราะกว่าจะได้ ผลผลิตก็ ปาเข้าไป 4-5 ปี
คงไม่มีอะไรทำให้ เกษตรกร ปวดหัว ไปมากกว่า การที่ ปลูกทุเรียนไปแล้ว เจอกับปัญหา เชื้อรา จนทำให้ ผลผลิตที่ตั้งตารอ เสียหาย แต่ปัญหานี้ ป้องกันได้ก่อนที่มันจะเกิด หรือเกิดแล้ว ก็ยังแก้ได้รักษาได้ โดยไม่ต้องใช้สารเคมีอันตรายมาเกี่ยวข้อง ด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มา
** โรครากเน่าโคนเน่า ในทุเรียน มักจะเกิดขึ้นบ่อย ในช่วงหน้าฝน เนื่องจาก สภาพอากาศ ที่มีความชื้นสูง
เหมาะแก่การเจริญเติบโตของเชื้อรา **

สาเหตุของโรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน

เกิดจากเชื้อรา ไฟทอปธอร่า ซึ่งเจริญเติบโตได้ดีในสภาวะที่เป็นกรด หรือบริเวณที่มีความชื้นสูง มีน้ำขัง
เชื้อราไฟทอปธอร่าจะสร้างถุงสปอร์ ( Sporangium ) ภายในสปอร์จะมีลูกกลมๆเล็กๆ ซึ่งสามารถว่ายน้ำได้
ด้วยเหตุนี้ เจ้าเชื้อราไฟทอปธอร่า จึงสามารถแพร่กระจายไปกับน้ำได้อย่างรวดเร็ว และแพร่ระบาดได้รุนแรงในช่วงหน้าฝน

อาการของโรครากเน่า โคนเน่าในทุเรียน จากเชื้อราไฟทอปธอร่า

1 หากต้นทุเรียนถูกทำลายที่รากฝอย ปลายยอดจะแห้ง ใบหมอง ไม่สดใส
2 หากถูกทำลายที่รากใหญ่ จะ แสดงอาการทั้งต้น ใบจะหมองซีด หลุดร่วง จากปลายกิ่ง
3 รากทุเรียนที่ถูกทำลาย จะเน่า กลายเป็นสีน้ำตาล เปลือกลอกจนดึงออกได้ง่าย
4 บริเวณลำต้น เกิดจุดฉ่ำน้ำ มีเมือกไหลเยิ้ม เนื้อไม้กลายเป็นสีน้ำตาลแดง
5 หากถูกเชื้อราเข้าทำลายที่ใบโดยตรง ใบจะมีสีดำช้ำ แห้งคาต้น
6 สามารถลุกลามไปยังผลทุเรียน ทำให้ผลเน่า

วิธีดูแลสวนทุเรียน ให้ปราศจาก โรครากเน่าโคนเน่า จากเชื้อรา

1 ปรับสภาพสวนทุเรียน ไม่ให้เอื้ออำนวยต่อเชื้อรา พยายามอย่าให้มีน้ำขังมีบริเวณโคนต้น ควรมีการขุดร่องระบายน้ำ หากมีปล่อยให้น้ำขังบริเวณรากทุเรียน จะทำให้ดินบริเวณนั้นเป็นแหล่งกำเนิดเชื้อรา
2 ตัดแต่งทรงพุ่มทุเรียนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้ดี และ กำจัดส่วนที่เป็นโรคไปเผาทำลาย
3 กำจัดวัชพืชในบริเวณ โคนต้นทุเรียน เพราะวัชพืชเหล่านี้สามารถเป็นแหล่งกบดานของเชื้อราไฟทอปธอรา
4 พยายามหลีกเลี่ยงการทำให้รากทุเรียน เป็นแผล
5 หมั่นตรวจสอบ ค่า PH ในดิน หากดินมีความเป็นกรดมากจนเกินไป ควรทำการปรับสภาพดิน
6 บำรุงต้นทุเรียน ให้แข็งแรง ได้รับ ธาตุอาหาร อย่างเหมาะสม เมื่อต้นทุเรียนของท่านแข็งแรง ก็จะมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อรา เชื้อโรคต่างๆ
7 หมั่นตรวจตรา ศัตรูพืชอยู่เสมอ

การป้องกัน และกำจัด เชื้อราไฟทอปธาร่าในทุเรียน ด้วย ไตรโคเดอร์มา

1 สำหรับ ต้นทุเรียน ที่ถูกเชื้อราทำลายบริเวณโคนต้น ให้ทำการ ถากแผลออกก่อน จากนั้น นำ ไตรโคเดอร์มา 250 กรัม ผสมกับ ดินแดง ครึ่ง กก และ น้ำเปล่า 1ลิตร แล้วนำไปทาที่บริเวณแผล
2 ใช้ไตรโคเดอร์มา โรยรอบๆโคนต้นทุเรียน ทุกๆ 4 ถึง 6 เดือน โดยนำ ไตรโคเดอร์มา เชื้อสด 1 กก. ผสมกับ รำละเอียด 4 กก. มาผสมกับ ปุ๋ยอินทรีย์ 100 กก. ด้วย อัตรา 50 กรัม ต่อ 1 ตารางเมตร จะช่วยป้องกัน และกำจัด เชื้อราไฟทอปธาร่า ในสวนทุเรียนได้เป็นอย่างดี
3 ใช้ฉีดพ่นตรงบริเวณทรงพุ่มของต้นทุเรียน โดยนำไตรโคเดอร์มา เชื้อสด 1 กก. มาทำการกรองออก จนเหลือแต่ส่วนที่เป็นน้ำ จากนั้น นำมาผสมกับน้ำเปล่า 200 ลิตร แล้วนำไปพ่น ทุกๆ 1-3 เดือน

โรครากเน่า โคนเน่า ในทุเรียน ไม่ใช่เรื่องล้อเล่น ป้องกันไว้ก่อน ดีที่สุด
หรือ หากเป็นแล้ว ก็ยังรักษาได้ ด้วยไตรโคเดอร์มา
สั่งซื้อ ไตรโคเดอร์มา โทร 095-5419953
หรือ แอดไลน์ @luckyworm

หรือ

เพิ่มเพื่อน

error: Content is protected !!