มกราคม 15, 2025

Blog

เพลี้ยไก่แจ้ ศัตรูพืชอันดับ 1 ของคนปลูกทุเรียน

คลังบทความ
ฝากกดแชร์เป็นกำลังใจให้ด้วยนะคะ

Last Updated on มกราคม 6, 2025 by admin

เพลี้ยไก่แจ้ เป็นเพลี้ยอีกชนิดนึง ที่จัดได้ว่าเป็นศัตรูตัวฉกาจ และสร้าง ความปวดหัวให้กับ คนปลูกทุเรียนได้เป็นอย่างมาก วันนี้ แอดมินจะมาแนะนำ วิธีการป้องกันและกำจัด เพลี้ยชนิดนี้กัน

เพลี้ยไก่แจ้ หรือ Durian psyllid เป็นเพลี้ยที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว คือบริเวณลำตัวของมัน จะถูกปกคลุมด้วยเส้นขนสีขาว และหางเป็นพู่เหมือนไก่แจ้ เมื่อโตเต็มวัย เจ้าเพลี้ยชนิดนี้ จะไปวางไข่บริเวณเนื้อเยื่อของใบพืช จนเกิดเป็นตุ่มสีเหลือง เป็นกลุ่มๆ กลุ่มไข่แต่ละใบจะมีจำนวนประมาณ 8-14 ฟอง หลังจากฟักออกมา ตัวอ่อนจะมีขนาดประมาณ 1 มิลลิเมตร เมื่อเติบโตขึ้น จะมีความยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร เมื่อโตเต็มวัย จะยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร
อายุขัย เฉลี่ยของ เพลี้ยชนิดนี้จะอยู่ที่ ประมาณ 6 เดือน มักระบาดในช่วงที่ทุเรียนแตกใบอ่อน
และเนื่องจาก ทุเรียนในสวน นั้นมักจะมีช่วงแตกใบอ่อน ไม่เท่ากัน จึงทำให้ การระบาดของเพลี้ยไก่แจ้ นั่น เกิดขึ้นได้อยู่เสมอ

ลักษณะ

ตัวเต็มวัย: มีขนาดเล็กประมาณ 5 มิลลิเมตร ลำตัวสีน้ำตาลอ่อน มีปีกใส ตัวเต็มวัยมีชีวิตอยู่ได้หลายสัปดาห์
ไข่: มีขนาดเล็กมาก วางไข่เป็นกลุ่มๆ ในเนื้อเยื่อของใบอ่อน ทำให้เห็นเป็นจุดสีเหลืองหรือน้ำตาลบนใบ
ตัวอ่อน: มีขนาดเล็กกว่าตัวเต็มวัย มีปุยสีขาวคล้ายหางไก่ติดอยู่ที่ส่วนท้ายของลำตัว ตัวอ่อนจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อน

วงจรชีวิต

เพลี้ยไก่แจ้จะวางไข่ในเนื้อเยื่อของใบอ่อน ไข่จะฟักเป็นตัวอ่อน ตัวอ่อนจะลอกคราบหลายครั้งก่อนที่จะกลายเป็นตัวเต็มวัย วงจรชีวิตของเพลี้ยไก่แจ้ค่อนข้างสั้น ทำให้มีการแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วงที่ทุเรียนแตกใบอ่อน

การเข้าทำลายทุเรียนของเพลี้ยชนิดนี้

ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของเพลี้ยไก่แจ้จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อน ทำให้ใบอ่อนเป็นจุดสีเหลือง ไม่เจริญเติบโต หากมีการระบาดรุนแรง ใบจะหงิกงอ แห้ง และร่วง นอกจากนี้ ตัวอ่อนยังขับสารเหนียวสีขาวออกมา ทำให้เกิดเชื้อราตามบริเวณนั้น

การจัดการสวนทุเรียน เพื่อ ป้องกันหรือ ลดการระบาดของเพลี้ยไก่แจ้

1 การจัดการทรงพุ่ม: ตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง อากาศถ่ายเทสะดวก เพื่อลดความชื้นที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเพลี้ยไก่แจ้
2 การดูแลต้นทุเรียนให้แข็งแรง: บำรุงต้นทุเรียนให้สมบูรณ์ แข็งแรง เพื่อเพิ่มความต้านทานต่อแมลงศัตรูพืช
3 การจัดการการแตกใบอ่อน: พยายามควบคุมให้ทุเรียนแตกใบอ่อนพร้อมๆ กัน เพื่อลดช่วงเวลาที่เพลี้ยไก่แจ้สามารถเข้าทำลายได้ โดยการใช้ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) อัตรา 200 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อกระตุ้นการแตกใบอ่อนพร้อมกัน
4ใช้แมลงศัตรูธรรมชาติ: เช่น แมลงช้างปีกใส แมงมุม หรือแตนเบียน

การใช้ สารชีวภัณฑ์เพื่อป้องกัน

ชีวภัณฑ์ นี่นิยมนำมาป้องกัน เพลี้ยไก่แจ้ ก็อย่างเช่น เชื้อรา บิวเวอร์เรีย หรือ น้ำส้มควันไม้ ฉีดพ่นทางใบ หรือน้ำหมักสมุนไพร สูตรไล่แมลงก็สามารถทำได้

เพลี้ยชนิดนี้ จะเข้าทำลายเฉพาะใบอ่อนของต้นทุเรียนที่ยังไม่โตเต็มที่ ดังนั้น เพื่อการป้องกัน และการจัดการที่ง่าย ชาวสวนทุเรียนจึงควร บังคับให้ ทุเรียน แตกใบอ่อน พร้อมกันให้มากที่สุด เพื่อลดช่วงการเข้าทำลายของเพลี้ยไก่แจ้ และ สามารถ ทำการฉีดพ่น สารป้องกัน ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด

หาก มีการระบาดหนักจนเกินควบคุม เกษตรกร อาจจำเป็นต้องพิจารณาใช้สารเคมีเข้าช่วย

สารเคมีที่นิยมใช้ในการกำจัด

อิมิดาโคลพริด (Imidacloprid): เป็นสารเคมีประเภทดูดซึม ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทของแมลง
ไทอะมีทอกแซม (Thiamethoxam): เป็นสารเคมีประเภทดูดซึม ออกฤทธิ์คล้ายกับอิมิดาโคลพริด
อะซีทามิพริด (Acetamiprid): เป็นสารเคมีประเภทดูดซึม ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทของแมลง
บูโพรเฟซิน (Buprofezin): เป็นสารเคมีที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการลอกคราบของแมลง
ไพมีโทรซีน (Pymetrozine): เป็นสารเคมีที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการดูดกินอาหารของแมลง

การป้องกันกำจัดเพลี้ยไก่แจ้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องอาศัยการจัดการแบบผสมผสานและการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงที่ทุเรียนแตกใบอ่อน หากพบการระบาดควรรีบดำเนินการควบคุมทันที เพื่อลดความเสียหายต่อผลผลิตทุเรียน

กำลังมองหา ตัวช่วยดีๆ ในการกำจัดเพลี้ยไก่แจ้อยู่รึเปล่า? สั่งซื้อได้ที่นี่เลย
ที่ร้าน lucky worm เรามีทั้ง ชีวภัณฑ์ ออแกนิค ที่ใช้กำจัดแมลงศัตรูพืช และสารเคมีที่ใช้กำจัดแมลง
เรามีใบอนุญาติขาย เคมีเกษตร ถูกต้องตามกฎหมาย ออกโดย กรมวิชาการเกษตร

ชีวภัณฑ์ ออแกนิค

สารเคมีกำจัดแมลง

หากไม่สะดวกสั่งซื้อสินค้า ผ่านระบบในเว็บไซต์ กรุณาโทร 095-5419953 หรือ แอดไลน์ @luckyworm
แอดมินของเรายินดีให้บริการค่ะ

เพิ่มเพื่อน

error: Content is protected !!