มกราคม 15, 2025

Blog

ธาตุอาหารหลักของพืช 3 อย่าง และความสำคัญของธาตุเหล่านี้

คลังบทความ
ฝากกดแชร์เป็นกำลังใจให้ด้วยนะคะ

Last Updated on มกราคม 4, 2025 by admin

ธาตุอาหารหลักเป็นเสมือนอาหารหลักที่พืชต้องการเพื่อการเจริญเติบโตและพัฒนาอย่างสมบูรณ์ โดยธาตุอาหารเหล่านี้จะทำหน้าที่ในการสร้างเซลล์ สร้างเนื้อเยื่อ และกระบวนการต่างๆ ภายในพืชให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ หากพืชขาดธาตุอาหารเหล่านี้ ก็จะส่งผลให้การเจริญเติบโตช้าลง ใบเหลืองซีด ผลผลิตน้อย และอาจตายได้ในที่สุด

จริงๆแลว ธาตุอาหาร ที่พืชต้องการ มีด้วยกันทั้งหมดถึง 17 ธาตุ ได้แก่ คาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน เหล็ก แมงกานีส สังกะสี ทองแดง โบรอน โมลิบดีนัม คลอรีน และนิกเกิล
ในจำนวนนี้ มี 3 อย่าง ที่เป็น ธาตุอาหารหลักของพืช ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แทนตัวย่อด้วย N P K ที่เรียกกันบ่อยๆ ที่เหลือ เป็นธาตุรอง และธาตุเสริม

ทำไมเราจึงจำเป็นต้องเรียนรู้เกี่ยวกับธาตุอาหารของพืช?

การที่ท่านมีความรู้เกี่ยวกับ ธาตุอาหารที่พืชต้องการ จะทำให้ท่านสามารถ วินิจฉัยได้ หากพืช หรือต้นไม้ที่ท่านปลูก ขาดสารอาหารและเกิดอาการอะไรบางอย่าง ทำให้แก้ไขได้อย่างถูกจุด
หรือแม้กระทั่ง หากท่านต้องการ ใช้ปุ๋ยเคมี ก็ยิ่งจำเป็นที่ท่านจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับธาตุอาหารของพืชในระดับนึง

ความสำคัญของธาตุ ไนโตรเจน

เป็นธาตุที่มีจำนวนสูงสุดอยู่ในบรรยากาศ แต่ว่าพืชจะไม่สามารถ ใช้ไนโตรเจนได้โดยตรง พืชจะดูดไนโตรเจนไปใช้ได้ก็ต่อเมื่อมีการแปลงรูป ให้อยู่ในรูปแบบของ ไนเตรต หรือ แอมโมเนียมเสียก่อน ( ยกเว้น พืชตระกูลถั่ว ซึ่งเป็นพืชชนิดเดียว ที่สามารถ นำไนโตรเจน จากอากาศมาใช้ได้โดยตรง ) ไนโตรเจน นั้น เคลื่อนที่ได้ในดิน และเคลื่อนที่ได้ในพืช จึงทำให้พืชสามารถตอบสนองต่อไนโตรเจนได้รวดเร็ว ไนโตรเจน เป็นธาตุที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อน และเป็นตัวสร้างของพืช ไม่ว่าจะสร้างใบสร้างราก สร้างลำต้น พืชต้องใช้ไนโตรเจนเป็นตัวสร้างทั้งหมด ถ้า พืชขาดธาตุไนโตรเจน ก็จะทำให้ไม่เจริญเติบโต อย่างที่ควรจะเป็น
พืชที่ต้องการการเจริญเติบโตทางใบ เช่น ข้าวหรือผักใบ จะต้องการไนโตรเจนสูง

หน้าที่ ของธาตุไนโตรเจน

ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของใบและลำต้น

เป็นองค์ประกอบหลักของคลอโรฟิลล์ ซึ่งมีหน้าที่ในการสังเคราะห์แสง (Photosynthesis)

เป็นส่วนประกอบของกรดอะมิโน โปรตีน และเอนไซม์ต่าง ๆ ที่สำคัญต่อกระบวนการเมแทบอลิซึมของพืช

อาการขาดธาตุไนโตรเจน

1 พืชเจริญเติบโตได้น้อยกว่าปกติ หรือโตช้า
2 ใบมีสีซีด
3 ใบมักจะร่วงก่อนกำหนด
4 ไม่ค่อยแตกใบอ่อน ผลติดน้อย ลูกเล็ก
5 ผลผลิตโดยรวมลดลง

อาการที่พืชได้รับไนโตรเจนมากจนเกินไป

1 มีการเจริญเติบโตทางใบมากผิดปกติ
2 ความต้านทานต่อโรค และศัตรูพืช ลดลง
3 สีผลผิดปกติ
4 สำหรับไม้ผล เนื้อผลไม้จะเละ
5 ผลผลิตเก็บรักษาได้ไม่นาน เสียง่าย

ความสำคัญของธาตุฟอสฟอรัส

ฟอสฟอรัส นั้นต่างจากไนโตรเจน กล่าวคือเป็นธาตุที่อยู่นิ่งๆไม่เคลื่อนที่ หมายความใส่ลงไปตรงไหนก็อยู่ตรงไหน
มักตกตะกอนกับธาตุอื่น (เวลาใส่ปุ๋ยเพิ่มเพื่อธาตุ ฟอสฟอรัส จึงควรใส่ใกล้ๆราก และใส่นานๆครั้งก็พอ เพราะมันสามารถตกค้างอยู่ในดินเป็นเวลานาน) อย่างไรก็ตาม พืชสามารถ ขับเคลื่อนและลำเลียง ธาตุฟอสฟอรัสได้ ผ่านทางท่ออาหาร ธาตุฟอสฟอรัส นั้นจำเป็นอย่างมาก ต่อการแบ่งเซลล์ และการเจริญเติบโตของเซลล์ การสังเคราะห์แสง การสร้างแป้ง หรือน้ำตาลในพืช

หน้าที่ของธาตุฟอสฟอรัส

1 มีบทบาทในการเจริญเติบโตของราก ทำให้รากพืชแข็งแรงและสามารถดูดซึมธาตุอาหารได้ดี
2 ช่วยในการพัฒนาการออกดอกและการสร้างเมล็ด
3 เป็นองค์ประกอบสำคัญของ ATP ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานของกระบวนการต่าง ๆ ในพืช

อาการที่พืชขาดฟอสฟอรัส

1 พืชแคระเกร็นมีทางใบสั้น
2 ไม่ออกดอก
3 ใบแก่ของพืชตระกูลหญ้า จะมีสีม่วง

อาการที่ธาตุฟอสฟอรัสมากจนเกินไป

ถ้าธาตุฟอสฟอรัสมีมากจนเกินไป ก็ทำให้ พืชไม่ออกดอกเช่นกันเนื่องจากฟอสฟอรัส จะไปกดธาตุ สังกะสี เหล็ก แมงกานีส ดังนั้นการเพิ่มธาตุฟอสฟอรัส จึงควรระมัดระวังในเรื่องนี้ด้วย

ความสำคัญของธาตุโพแทสเซียม

โพแทสเซียมมีหน้าที่ในการ เปิดหรือปิดปากใบ หากพืชขาดโพแทสเซียม จำให้พืชเหี่ยวเร็วเนื่องจาก การเปิดปิดปากใบผิดปกติ โพแทสเซียมมีผลต่อพัฒนาการ ของ ขนาด สี รสชาติ ของผลไม้เป็นอย่างมาก เนื่องจากโพแทสเซียม มีหน้าที่ขนส่งน้ำตาลไปยังผลไม้

หน้าที่ของธาตุโพแทสเซียม

1 ควบคุมการเปิด-ปิดของปากใบ (Stomatal regulation) ส่งผลต่อการควบคุมการระเหยน้ำ
2 เสริมสร้างความแข็งแรงของเซลล์พืช ทำให้พืชต้านทานโรคได้ดีขึ้น
3 ช่วยในการเคลื่อนย้ายสารอาหารและน้ำตาลในพืช

อาการที่พืชขาดโพแทสเซียม

1 ใบเหลืองจาก โดยเริ่มจากขอบใบไปยังปลายใบ
2 พืชมีความอ่อนแอต่อโรคและสภาพอากาศที่ไม่เหมาะสม

การใส่ปุ๋ยธาตุอาหารหลักของพืช อย่างเหมาะสม

การเลือกปุ๋ยที่มีสัดส่วน N-P-K ควรพิจารณาจากชนิดของพืชและระยะการเจริญเติบโต:

  • ระยะเริ่มต้น: ใช้ปุ๋ยที่มีฟอสฟอรัสสูง เพื่อส่งเสริมการพัฒนาราก
  • ระยะเจริญเติบโตทางใบ: ใช้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง
  • ระยะสร้างผลผลิต: ใช้ปุ๋ยที่มีโพแทสเซียมสูง เพื่อเพิ่มคุณภาพของผลผลิต

การใส่ปุ๋ยควรใช้ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการตกค้างในดินที่อาจส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม

ธาตุอาหารหลัก N-P-K มีบทบาทสำคัญในทุกกระบวนการของพืช การให้ธาตุอาหารในปริมาณที่เหมาะสมและในเวลาที่ถูกต้อง จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเจริญเติบโตและคุณภาพของผลผลิต ทั้งนี้ การจัดการธาตุอาหารที่สมดุลยังช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและยั่งยืนต่อการเกษตรในระยะยาว

อ่านบทความดีๆกันแล้ว อย่าลืมเป็นเพื่อนกันในไลน์นะคะ เพื่อให้ท่านไม่พลาดข่าวสารโปรโมชั่นดีๆจากทางร้าน

เพิ่มเพื่อน

error: Content is protected !!